วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รับทดสอบอุปกรณ์โครงข่าย 3G HSPA GSM Microwave Link และอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมอื่นๆ


ถึงจะยังไม่มีการประมูล License 3G@2.1 GHz ในบ้านเรา แต่วงการโทรคมก็ยังคึกคักต่อเนื่อง
เมื่อมีการลงทุนโครงข่ายแล้ว คงต้องมีการทดสอบอุปกรณ์ประเภท Hardware ในโครงข่ายอีก
มากมายเลยทีเดียว

ซึ่งผมอยากจะขอประชาสัมพันธ์ห้อง Lab ที่ผมทำงานอยู่ ในฐานะหน่วยงานที่
สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมและสื่อสารมวลชน (วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียม)
รวมทั้ง Suppliers ของอุปกรณ์โครงข่าย
สามารถทดสอบอุปกรณ์ที่ท่านต้องการจะซื้อขาย ว่าเป็นไปตามเสป็คหรือไม่
และสามารถใช้งานกับระบบของท่านได้หรือไม่ เพื่อลดปัญหาต่างๆที่จะตามมาภายหลัง

ทางห้อง Lab ที่ผมดูแลอยู่ รับทดสอบอุปกรณ์โครงข่ายทุกประเภท ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย และครบครัน
มีวิศวกรที่สามารถออกแบบระบบการทดสอบให้ได้ผลแม่นยำ โดยใช้เวลาในการทดสอบน้อย
เรามีประสบการณ์ในการทดสอบสาย Feeder, Connector, Combiner, Repeater, Adapter และอื่นๆ
สามารถทดสอบค่า VSWR, noise, gain, insertion loss, IMD, spurious, passive intermodulation
และค่าอื่นๆ โดยจากประสบการณ์ในการทดสอบครั้งหนึ่ง เราสามารถลดเวลาการทดสอบต่ออุปกรณ์ 1 ชิ้น จาก 40 นาที เหลือเพียง 5 นาทีเท่านั้น

งานทดสอบนี้ ถือเป็นงานบริการวิชาการ โดยรายได้จะนำมาพัฒนา Lab
และสนับสนุนงานวิจัยของนักศึกษาและมหาวิทยาลัยต่อไป ผมจึงอยากจะเชิญชวนให้บริษัทต่างๆ
ทั้งผู้วางโครงข่าย ผู้ให้บริการ และ Suppliers เข้ามาทดสอบอุปกรณ์ของท่านใน Lab ของเรา
หากท่านสนใจ กรุณาติดต่อมาที่
suramate_ch@yahoo.com หรือที่เบอร์ 02-9132500 ต่อ 2912 (ติดต่อคุณต้อง)
เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยครับ

วันพุธที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Publications ปีนี้

ส่งไปแล้วสาม แต่เนื่องจากเลื่อน Deadline เลยอาจมีก๊อกสอง...
เอ...แต่เลื่อนก็แปลว่าของปีหน้าแล้วสิ

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มา Update Blog นี้ซะหน่อย

ผมงานค่อนข้างยุ่งเลยไม่ค่อยได้ Update

เพิ่งกลับมาจาก Present งานที่ญี่ปุ่น และ และ และ...

ไปญี่ปุ่นสนุกมาก ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับนักวิจัย และบริษัทระดับโลกมากมาย

คนไทยก็ทำงานเจ๋งๆได้ และวันหนึ่งข้างหน้า คนไทยจะต้องไม่เหนื่อยฟรี
และไม่เป็นทาสทางเทคโนโลยีอีกต่อไป ผมเชื่ออย่างนั้น

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เชิญเยี่ยมชมเฟสบุ๊คครับ

ช่วงนี้ไม่ค่อยได้มาอัพเดตที่นี่เลยครับ
ยังไงเชิญเยี่ยมชมเฟสบุ๊ค
ผมสร้างกลุ่มไว้ชื่อ New Generation Thai RF Engineers
นัดหมายเรียนของนักศึกษา เปลี่ยนไปใช้ที่เฟสบุ๊คเช่นกันครับ เพราะสะดวกกว่าที่นี่

สวัสดีครับ

วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

ต้นแบบวงจรขยายสัญญาณในย่านความถี่ L-band

จากบทความที่แล้วผมได้นำเสนอต้นแบบ Bias-T ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทดสอบ BUC และ LNB สำหรับงานสื่อสารผ่านดาวเทียมไปแล้ว หากเอกชนรายใดสนใจ สามารถติดต่อมาได้นะครับ

สำหรับคราวนี้ ผมจะนำเสนอต้นแบบวงจรขยายสัญญาณ (Power Amplifier) ในย่านความถี่ L-Band
ซึ่งเป็นผลงานนักศึกษาที่ไปฝึกงานกับบ.ไทยคมเช่นกันครับ โดยอุปกรณ์ตัวนี้สามารถนำไปใช้เป็น Line driving amplifier ได้ครับ สำหรับงาน test หรือ operation ที่ต้องลากสายยาว และมีการสูญเสียของสาย
หรือจะนำไปขยายสัญญาณในการใช้งานแบบอื่นก็ได้ครับ

ผลงานของนักศึกษาป.โท สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม TGGS นายเอกพล ขันสาลี

คุณสมบัติของวงจรที่นักศึกษาได้สร้างขึ้นครับ คอลัมน์กลางเป็นคุณสมบัติที่ไทยคมตั้งเอาไว้ตอนเริ่มโครงการ ส่วนคอลัมน์สุดท้ายเป็นผลการวัดวงจรต้นแบบครับ


จะเห็นได้ว่าผลที่ได้สามารถตอบโจทย์ที่ได้รับอย่างครบถ้วนครับ และได้นำไปทดสอบ
กับระบบจริงที่ไทยคมแล้วด้วย ซึ่งผลก็คือนำไปใช้ได้จริงครับ

หากเอกชนท่านใดสนใจอุปกรณ์นี้ (สามารถสั่งซื้อได้ โดยรายได้ก็จะกลับมาพัฒนาห้องแล็ปต่อไป)
สามารถติดต่อที่มาที่ผมได้นะครับที่ suramate_ch@yahoo.com
นอกจากนั้น ที่ lab ของเรายังทำวงจรขยายสัญญาณที่ความถี่อื่นรวมทั้งอุปกรณ์ RF อื่นๆได้ด้วย

หากนักวิจัยได้รับการสนับสนุนให้นำผลงานที่ทำไปใช้จริง ประเทศไทยเราก็จะสามารถ
ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ และหากคนรุ่นใหม่เชื่อในความสามารถและพลังความคิด
ของตัวเอง มีความมุ่งมั่น ไม่คิดเรียนไปเพียงแค่ต้องการใบปริญญา แต่นำความรู้ที่เรียนมาไปใช้จริง
เราก็จะสามารถทำอะไรได้อีกหลายๆอย่างครับ

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณบ.ไทยคมที่ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ทำต้นแบบ และข้อมูลทางเทคนิค
และที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปใช้จริงด้วยครับ

ต้นแบบ Bias T module สำหรับงานทดสอบ Block up converter (BUC) และ Low Noise Block (LNB)

ตามที่นักศึกษาของ TGGS สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม ได้เข้าฝึกงานที่บ.ไทยคมในภาคเรียน 1/2552
ขณะนี้นักศึกษาได้ฝึกงานเสร็จสิ้นแล้ว โดยวันนี้ผมจะขอเสนอผลงานบางส่วนที่นักศึกษาได้พัฒนา
ในระหว่างการฝึกงานที่บ.ไทยคมซึ่งเป็นอุปกรณ์ต้นแบบสำหรับทดสอบ Block up converter และ Low noise block (LNB) ดังนี้ครับ

ต้นแบบ Bias-T ซึ่งทำหน้าที่ผสานสัญญาณ L-Band, สัญญาณอ้างอิง 10 MHz และไฟกระแสตรง
เข้าด้วยกันเพื่อทำการทดสอบเปิดให้ BUC ทำงาน

พัฒนาโดย นายกิติพงษ์ นวลใย นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมของ TGGS


คุณสมบัติ (Specifications) ดูได้จากตารางข้างล่างโดยคอลัมน์กลางเป็น Specs ที่ทางไทยคมได้ตั้งเอาไว้
ส่วนคอลัมน์ซ้ายสุดเป็นผลการวัดชิ้นงานต้นแบบที่นักศึกษาสร้างขึ้นครับ


จากตารางจะเห็นได้ว่าผลจากต้นแบบที่ได้สามารถตอบโจทย์ที่นักศึกษาได้รับมอบหมายได้ทุกข้อ
หากภาคเอกชนมีความต้องการอุปกรณ์ Bias-T นี้ กรุณาติดต่อมาที่ e-mail ของผมได้ครับที่ suramate_ch@yahoo.com

ซึ่งหากเป็นจริงก็เท่ากับเราสามารถลดการพึ่งพาทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ครับ
สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณบ.ไทยคมที่ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ในการสร้างต้นแบบ และข้อมูลทางเทคนิคครับ

สำหรับบทความหน้า ผมจะนำเสนออุปกรณ์ต้นแบบ L-band Amplifier (เครื่องขยายสัญญาณ) ครับ

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Microwave Circuit Oral Exam Schedule is Announced

CE09 students: The schedule of the oral examination in Microwave Component and Circuit Design is now announced in the CE showcase in front of the lift on 4th floor of the TGGS building.

Date of examination 5/2/2010
The first two candidates will start the exam at 9:30

On that day, it'll be no VLSI class

เกี่ยวกับฉัน

Dr.-Ing. Suramate Chalermwisutkul
• Dipl.-Ing. and Dr.-Ing. degrees from RWTH Aachen University, Aachen, Germany
• Position: Permanent Lecturer/ Researcher, TGGS/CE
• Affiliation: The Sirindhorn International Thai-German Graduate School of Engineering

Work experience:
• Research assistant at the Institute of Electromagnetic Field Theory, RWTH Aachen University
• Researcher at Bell Labs Europe, Alcatel-Lucent (one patent)
Powered By Blogger

ผู้ติดตาม