วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553

ต้นแบบวงจรขยายสัญญาณในย่านความถี่ L-band

จากบทความที่แล้วผมได้นำเสนอต้นแบบ Bias-T ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทดสอบ BUC และ LNB สำหรับงานสื่อสารผ่านดาวเทียมไปแล้ว หากเอกชนรายใดสนใจ สามารถติดต่อมาได้นะครับ

สำหรับคราวนี้ ผมจะนำเสนอต้นแบบวงจรขยายสัญญาณ (Power Amplifier) ในย่านความถี่ L-Band
ซึ่งเป็นผลงานนักศึกษาที่ไปฝึกงานกับบ.ไทยคมเช่นกันครับ โดยอุปกรณ์ตัวนี้สามารถนำไปใช้เป็น Line driving amplifier ได้ครับ สำหรับงาน test หรือ operation ที่ต้องลากสายยาว และมีการสูญเสียของสาย
หรือจะนำไปขยายสัญญาณในการใช้งานแบบอื่นก็ได้ครับ

ผลงานของนักศึกษาป.โท สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม TGGS นายเอกพล ขันสาลี

คุณสมบัติของวงจรที่นักศึกษาได้สร้างขึ้นครับ คอลัมน์กลางเป็นคุณสมบัติที่ไทยคมตั้งเอาไว้ตอนเริ่มโครงการ ส่วนคอลัมน์สุดท้ายเป็นผลการวัดวงจรต้นแบบครับ


จะเห็นได้ว่าผลที่ได้สามารถตอบโจทย์ที่ได้รับอย่างครบถ้วนครับ และได้นำไปทดสอบ
กับระบบจริงที่ไทยคมแล้วด้วย ซึ่งผลก็คือนำไปใช้ได้จริงครับ

หากเอกชนท่านใดสนใจอุปกรณ์นี้ (สามารถสั่งซื้อได้ โดยรายได้ก็จะกลับมาพัฒนาห้องแล็ปต่อไป)
สามารถติดต่อที่มาที่ผมได้นะครับที่ suramate_ch@yahoo.com
นอกจากนั้น ที่ lab ของเรายังทำวงจรขยายสัญญาณที่ความถี่อื่นรวมทั้งอุปกรณ์ RF อื่นๆได้ด้วย

หากนักวิจัยได้รับการสนับสนุนให้นำผลงานที่ทำไปใช้จริง ประเทศไทยเราก็จะสามารถ
ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ และหากคนรุ่นใหม่เชื่อในความสามารถและพลังความคิด
ของตัวเอง มีความมุ่งมั่น ไม่คิดเรียนไปเพียงแค่ต้องการใบปริญญา แต่นำความรู้ที่เรียนมาไปใช้จริง
เราก็จะสามารถทำอะไรได้อีกหลายๆอย่างครับ

สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณบ.ไทยคมที่ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ทำต้นแบบ และข้อมูลทางเทคนิค
และที่เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปใช้จริงด้วยครับ

ต้นแบบ Bias T module สำหรับงานทดสอบ Block up converter (BUC) และ Low Noise Block (LNB)

ตามที่นักศึกษาของ TGGS สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม ได้เข้าฝึกงานที่บ.ไทยคมในภาคเรียน 1/2552
ขณะนี้นักศึกษาได้ฝึกงานเสร็จสิ้นแล้ว โดยวันนี้ผมจะขอเสนอผลงานบางส่วนที่นักศึกษาได้พัฒนา
ในระหว่างการฝึกงานที่บ.ไทยคมซึ่งเป็นอุปกรณ์ต้นแบบสำหรับทดสอบ Block up converter และ Low noise block (LNB) ดังนี้ครับ

ต้นแบบ Bias-T ซึ่งทำหน้าที่ผสานสัญญาณ L-Band, สัญญาณอ้างอิง 10 MHz และไฟกระแสตรง
เข้าด้วยกันเพื่อทำการทดสอบเปิดให้ BUC ทำงาน

พัฒนาโดย นายกิติพงษ์ นวลใย นักศึกษาระดับปริญญาโทสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคมของ TGGS


คุณสมบัติ (Specifications) ดูได้จากตารางข้างล่างโดยคอลัมน์กลางเป็น Specs ที่ทางไทยคมได้ตั้งเอาไว้
ส่วนคอลัมน์ซ้ายสุดเป็นผลการวัดชิ้นงานต้นแบบที่นักศึกษาสร้างขึ้นครับ


จากตารางจะเห็นได้ว่าผลจากต้นแบบที่ได้สามารถตอบโจทย์ที่นักศึกษาได้รับมอบหมายได้ทุกข้อ
หากภาคเอกชนมีความต้องการอุปกรณ์ Bias-T นี้ กรุณาติดต่อมาที่ e-mail ของผมได้ครับที่ suramate_ch@yahoo.com

ซึ่งหากเป็นจริงก็เท่ากับเราสามารถลดการพึ่งพาทางเทคโนโลยีจากต่างประเทศได้ครับ
สุดท้ายนี้ผมขอขอบคุณบ.ไทยคมที่ช่วยสนับสนุนอุปกรณ์ในการสร้างต้นแบบ และข้อมูลทางเทคนิคครับ

สำหรับบทความหน้า ผมจะนำเสนออุปกรณ์ต้นแบบ L-band Amplifier (เครื่องขยายสัญญาณ) ครับ

เกี่ยวกับฉัน

Dr.-Ing. Suramate Chalermwisutkul
• Dipl.-Ing. and Dr.-Ing. degrees from RWTH Aachen University, Aachen, Germany
• Position: Permanent Lecturer/ Researcher, TGGS/CE
• Affiliation: The Sirindhorn International Thai-German Graduate School of Engineering

Work experience:
• Research assistant at the Institute of Electromagnetic Field Theory, RWTH Aachen University
• Researcher at Bell Labs Europe, Alcatel-Lucent (one patent)
Powered By Blogger

ผู้ติดตาม